ภาคการศึกษาที่ 4 เดือนตุลาคม – ธันวาคม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อให้สอดคล้อง
กับการจัดบริการของชั้นเรียนและโรงเรียนดังนี้
1. กิจกรรมระดับโรงเรียน ประกอบด้วย
1.1 กิจกรรมประจำวัน หมายถึง กิจกรรมทุกระดับในโรงเรียนที่
ทำร่วมกันทั้งในโรงเรียน เป็นประจำทุกวัน ได้แก่
1.1.1 เคารพธงชาติ , ฝึกกายบริหาร
1.1.2 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.1.3 กิจกรรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง
1.1.4 กิจกรรมนันทนาการและการเคลื่อนไหว
1.2 กิจกรรมประจำสัปดาห์/ปี หมายถึง กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
เป็นพิเศษ นอกเหนือจากการเรียนการสอนรายวัน เพื่อเพิ่มพูน
ประสบการณ์ให้แก่เด็กทั้งโรงเรียน ซึ่งกิจกรรมระดับชั้นเรียน
และกิจกรรมรายบุคคลไม่อาจเอื้อให้ได้เพียงพอ
1.2.1 กิจกรรมประจำสัปดาห์ ได้แก่ พลศึกษา
ดนตรีเพื่อการพัฒนา ศิลปะ กิจกรรมส่งเสริมการเล่น
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (ห้องสมุด) การกระตุ้น
ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensory Integration:SI )
กิจกรรมการออกกำลังกาย (Fitness)
1.2.2 กิจกรรมพิเศษ / กิจกรรมชมรม ทัศนศึกษานอกสถานที่
ว่ายน้ำ โยคะ กระบองชีวจิต ทำอาหาร อังกะลุง
ศิลปะการแสดงประยุกต์ และกิจกรรมเสริมสุขภาพ
1.2.3 กิจกรรมงานบ้าน
1.2.4 กิจกรรมวันสำคัญประจำปี เช่น วันไหว้ครู วันสงกรานต์
วันลอยกระทง วันแม่ วันพ่อ และวันสำคัญทางศาสนา
1.2.5 กิจกรรมค่ายพักแรม
1.2.6 กิจกรรมกีฬาสี
1.2.7 กิจกรรมงานรื่นเริงประจำปี
2. กิจกรรมระดับชั้นเรียน ประกอบด้วย
2.1 กิจกรรมประจำวัน
2.1.1 สนทนาตอนเช้า
2.1.2 การเรียนการสอน : เตรียมความพร้อมทางวิชาการ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต งานบ้านและการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
2.1.3 นันทนาการ
2.1.4 การออกกำลังกาย
2.1.5 การช่วยเหลือตนเอง
2.2 กิจกรรมประจำสัปดาห์
2.2.1 เสริมวิชาการ
2.2.2 ศิลปะศึกษา
2.2.3 ดนตรีเพื่อการพัฒนา
2.2.4 พลศึกษา
2.2.5 กิจกรรมส่งเสริมการเล่น
2.2.6 กิจกรรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
2.2.7 กิจกรรมการออกกำลังกาย
2.2.8 งานบ้านและการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
3. กิจกรรมรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่วางแผนสำหรับนักเรียนแต่ละคน
ซึ่งต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนาการและรับบริการเสริมด้านต่างๆ
รายละเอียดในการทำกิจกรรมรายบุคคลจะกำหนดไว้ในแผนการ
ศึกษารายบุคคลของนักเรียน กิจกรรมระดับนี้เป็นกิจกรรมที่นักเรียน
แยกออกจากกลุ่มใหญ่ในชั้นเรียน เพื่อไปรับบริการเสริม ดังนี้
3.1 การเรียนเสริมวิชาการ
3.2 ฝึกพูด
3.3 กายภาพบำบัด / ธาราบำบัด
3.4 ดนตรีเพื่อการพัฒนา
3.5 ศิลปะ
3.6 การกระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
3.7 คอมพิวเตอร์
3.8 กิจกรรมส่งเสริมการเล่น
หมายเหตุ การรับบริการเสริมอาจจะจัดให้เป็นรายบุคคล
หรือเป็นกลุ่มย่อยในชั้นเรียน
ห้องบริการเสริม ทั้งนี้สามารถจัดตามความเหมาะสมสำหรับ
นักเรียนแต่ละคน
4. บริการชุมชน เป็นบริการที่จัดสำหรับนักเรียนภายนอกในวันศุกร์
4.1 เสริมวิชาการ
4.2 ดนตรีเพื่อการพัฒนา
4.3 ฝึกพูด
4.4 กายภาพบำบัด / ธาราบำบัด
4.5 ศิลปะ
4.6 คอมพิวเตอร์
4.7 กิจกรรมส่งเสริมการเล่น
4.8 กิจกรรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
5. บริการพิเศษวันหยุด
5.1 โครงการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ
5.2 โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้
5.3 โครงการส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิต
การนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปจัดตารางการเรียนเป็นรายบุคคล
สำหรับนักเรียนแต่ละคน ครูนำกิจกรรมต่างๆ ไปจัดให้เข้ากับแผน
การเรียนรายบุคคลตามจำนวนครั้ง และตามเวลาที่เหมาะสม
2.1 วิชาการ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านภาษาไทย
คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลศึกษา สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
การสนทนาตอนเช้า
2.2 บริการเสริม เพื่อการบำบัดและการสร้างเสริมพัฒนาการ ได้แก่
การฝึกพูด การสื่อสารแบบธรรมชาติ กายภาพบำบัด ธาราบำบัด
ดนตรีเพื่อการพัฒนา ศิลปะ การกระตุ้นประสาทสัมผัสและ
การเคลื่อนไหว การเสริมสมรรถภาพร่างกาย (Fitness)
การเล่น การเสริมวิชาการ และคอมพิวเตอร์
2.3 กิจกรรมนันทนาการ เพื่อให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย ชื่นชมในศิลปะ
และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมรอบตัว การใช้เวลาอย่างมีคุณค่า
ได้แก่ การฟังเพลง การเล่นดนตรี การทำงานศิลปะ
กิจกรรมเข้าจังหวะ การใช้ห้องสมุด กิจกรรมวงกลม
การเล่นกับเพื่อน การเล่นของเล่น / เครื่องเล่น กิจกรรมกีฬา
และการออกกำลังกาย การใช้บริการ สันทนาการสาธารณะ
ทัศนศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมชมรม (ฝึกเล่นอังกะลุง,ศิลปะ
การแสดงประยุกต์ และกิจกรรมเสริมสุขภาพ)
2.4 กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ และการเลือกกิจกรรมเสรี
ตามความสนใจ เพื่อให้นักเรียนได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาฝึกหัดและ
ฝึกซ้อมจนเกิดความชำนาญ ทำได้ด้วยตนเองมากที่สุด ได้แก่
การช่วยเหลือตนเอง งานบ้าน การทำอาหาร การอ่าน (ห้องสมุด)
การฟัง การเขียน การสร้างสมรรถภาพร่างกาย การเล่น
งานเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงประยุกต์ กิจกรรมกีฬา
การฝึกสมาธิ
2.5 กิจกรรมพิเศษวันศุกร์ เพื่อเสริมประสบการณ์นอกจากการเรียน
ตามตาราง การเรียนแต่ละวันในสัปดาห์ ให้นักเรียนมี
ประสบการณ์ตรงจากสิ่งที่เรียนในชีวิตประจำวัน เช่น
การทำอาหาร ว่ายน้ำ ทัศนศึกษานอกสถานที่
การประดิษฐ์ของเล่นหรือของใช้